โค้ดตัววิ่ง

Hello สวัสดีจร้า

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข่าวน้ำท่วม

แผนที่ระดับน้ำท่วมในกรณีร้ายแรงสุด คาดการณ์โดย ดร.เสรี
(เผยแพร่ 28 ตค 2554)

แผนที่น้ำท่วม

----------------------------------------------------------------------------------------






----------------------------------------------------------------------------------------

เตือนภัย พบมวลน้ำเท่าเขื่อนภูมิพล จ่อถล่มกรุง

น้ำท่วมกรุงเทพ


บริษัท TEAM GROUP กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาของคนไทย ที่มีความชำนาญในวิชาชีพด้านการบริหารจัดการน้ำมากว่า 30 ปี ได้เตือนภัยน้ำท่วม ฉบับที่ 3 ระบุว่า สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลางยังไม่ดีขึ้น แม้ระดับน้ำที่อยุธยาจะลดลง 2 ซม. และระดับน้ำที่บางไทรได้เริ่มคงที่
 

ทั้งนี้จากปริมาณน้ำในทุ่งเจ้าพระยาที่ยังมีมากกว่า 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เปรียบเสมือนมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลอีก 1 อ่าง อยู่ที่บางไทร และปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยา แม้จะลดลงแต่ยังมีปริมาณมากกว่าน้ำที่สามารถระบายลงสู่ทะเลได้
 

เช่น เมื่อ 21 ต.ค. มีน้ำไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยาวันละ 419 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลทั้งที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน และทางทุ่งและคลองฝั่งตะวันออกรวมทั้งสิ้นได้วันละ 403 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำเหลือสะสมเพิ่มเติมในทุ่งเจ้าพระยาอีกวันละ 16 ล้านลูกบาศก์เมตร
 

จึงทำให้ระดับน้ำในทุ่งเจ้าพระยาตอนล่างเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ นครชัยศรี บางเลน บางใหญ่ เมืองนนทบุรี ปากเกร็ด ลาดหลุมแก้ว เมืองปทุมธานี คลองหลวง ธัญบุรี สายไหม ลำลูกกา หนองจอก คลองสามวา ลาดกระบัง บางเสาธง และบางบ่อ
 

หากไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้มากกว่านี้ จะมีผลทำให้พนังกั้นน้ำที่อ่อนแอกว่าพังลง น้ำจะไหลพุ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น และพนังกั้นน้ำที่ไม่แข็งแรงหรือความสูงไม่เพียงพอ ก็จะพังลงเรื่อยๆ ตามลำดับ นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.นี้เป็นต้นไป น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไปหนุนสูงสุดในวันที่ 31 ต.ค. ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพุทธฯ อยู่ที่ +2.45 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง
 

ซึ่งจะมีผลเสริมทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำและมีคลองเชื่อมโยงกับแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีน หลังจากนั้นระดับน้ำจะทรงตัว และจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ จนถึงหลังวันที่ 15 พ.ย.ไปแล้ว ระดับน้ำในพื้นที่ อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี จึงจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในพื้นที่ บางไทร ปทุมธานี นนทบุรี นครชัยศรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ระดับน้ำจะลดลงอย่างช้าๆ
 

ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่น้ำจะท่วม (ดูจากเตือนภัยน้ำท่วมฉบับที่ 1) จะต้องเสริมความแข็งแรงให้พนังกั้นน้ำต่างๆ และเสริมเพิ่มความสูงให้เพียงพอ และให้คงทนอยู่ได้ถึงหลังวันที่ 15 พ.ย.ดังกล่าว
 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูง โรงงาน และนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องป้องกันน้ำท่วมเป็นพิเศษที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และฝั่งตะวันออกของถนนบางพลี-บางตำหรุ ควรเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำให้มั่นคง และให้มีระดับความสูงไม่น้อยกว่า +3.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลกลาง
 

โดยที่ แผ่นที่ ประกอบข่าวดังกล่าว เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ทาง Mthai News จัดทำให้ โดยอ้างอิงจากแผนที่ของ Team Group ดังนี้
 

หมายเหตุ (ที่ราบ/ที่ลุ่ม) ทุ่งเจ้าพระยา หมายถึงที่ราบริมเจ้าพระยาตั้งแต่นครสวรรค์เรื่อยมาถึงอ่าวไทย โดยที่ที่รอบตอนบน หมายถึงนครสวรรค์ อยุธยา อ่างทอง ฯ ในขณะที่ ที่ราบตอนล่างจะหมายถึง ปทุมธานี นนทบุรีเรื่อยลงมาที่ กรุงเทพ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม


ที่มา Mthai News

----------------------------------------------------------------------------------------


@SpringNews_TV: ผู้ว่ากทม. รับ กทม.เข้าสู่สถานการณ์วิกฤตแล้ว ระวังตลอด24ช.ม.
 
 
วันที่ 23 ต.ค.2554 เมื่อเวลาประมาณ23.45น. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ออกแถลงข่าวเตือนประชาชนใน6เขตเตรียมรับมือน้ำท่วมตั้งแต่คืนนี้ถึงพรุ่งนี้(24ต.ค.) ได้แก่เขตดอนเมือง หลักสี่ จตุจักร บางเขนบางซื่อ และ สายไหม เนื่องจากมีมวลน้ำไหลมาจากทางเหนือบริเวณรังสิตและปทุมธานีค่อนข้างมาก และให้เตรียมขนของขึ้นที่สูง ย้ายปลั๊กไฟ เคลื่อนย้ายรถยนต์ และให้ประชาชนเคลื่อนย้ายไปสู่ที่พักพิงที่กทม.จัดตั้งไว้ แต่เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนกขอประเมินสถานการณ์อีกครั้งในวันพรุ่งนี้ และได้ให้เจ้าหน้าที่ของกทม.เตรียมการตลอด24ชั่วโมง


--------------------------------------------------------------------------------------------------


ปทุมฯ ประกาศ พรบ.ปภ. ห้ามขวางการทำงาน (ไอเอ็นเอ็น)
 
         คำสั่งจังหวัดปทุมธานีเรื่อง กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรง ตาม ม. 21 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
 

         ตามที่เกิดสถานการณ์อุทกภัย ขึ้นใน จ.ปทุมธานี เกือบทั้งพื้นที่ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่พี่น้องประชาชน เอกชน โรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก เป็นมหันตภัย ซึ่งสมควรที่จะต้องได้มีการระดมสรรพกำลังในการแก้ไขปัญหา โดยความร่วมมือของประชาชน และทุกภาคส่วน อาศัยตามความในมาตรา 21 มาตรา 25 และมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด จึงสั่งให้ข้าราชการฝ่ายพลเรือน พนักงานส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของพนักงานของรัฐ เจ้าพนักงาน อาสาสมัคร และบุคคลใดๆ ใน จ.ทุมธานี ให้เข้าร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามที่ผู้อำนวยการท้องถิ่น ผู้อำนวยการอำเภอ และผู้อำนวยการจังหวัดสั่งการ โดยเฉพาะให้เร่งรัดดำเนินการดังนี้
 

         1. ห้ามมิให้ผู้ใดที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ ที่มีการป้องกันภัย โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำการก่อแนวป้องกันน้ำ และพื้นที่คลองชลประทาน ที่เจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการแก้ไขสถานการณ์

 
         2. ห้ามมิให้ผู้ใด กระทำการ หรืองดเว้นการกระทำใดที่มีผลกระทบต่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2554 เวลา 11.00 น. - วันที่ 24 ตุลาคม 2554 เวลา 11.00 น.
 

         3. ผู้อำนวยการจังหวัด เห็นชอบให้ผู้อำนวยการท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานตัดแปลงทำลาย หรือเคลื่อนย้ายสิ่งก่อสร้าง วัสดุ หรือทรัพย์สินของบุคคลใดที่เป็นอุปสรรคแก่การปกปิด ปกป้อง ภยันตราย ทั้งนี้ เฉพาะที่จำเป็นต่อการยับยั้ง หรือแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากอุทกภัยในครั้งนี้

 
          ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554 

----------------------------------------------------------------------------------------------------

แผนที่น้ำท่วม

แนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพชั้นใน


--------------------------------------------------------------------------------------------------

สุขุมพันธุ์ ยัน น้ำเหนือเข้า กทม พรุ่งนี้ ( 21 ตค)


ผู้ว่า กทม. ยันสถานการณ์น้ำยังไม่วิกฤติ แต่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เผยเฝ้าระวังน้ำเหนือทะลักเข้ากรุงพรุ่งนี้ ย้ำจุดอ่อน 3 แห่ง ประตูน้ำหลักหก พื้นที่การประปา ถ.พหลฯตัดคลองรังสิต เรียกร้องให้รัฐช่วยดูแล เนื่องจากอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบ...
 
 

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจ และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม กรุงเทพมหานคร (กทม.) ณ ศาลาว่าการกรุงเทพฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำรอบพื้นที่ กทม. ว่า ยืนยันสถานการณ์น้ำใน กทม.ยังต้องเฝ้าระวังต่อไป แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ และระบบการป้องกันน้ำท่วมของ กทม. ยังไม่มีปัญหา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาเฉพาะเหตุ เช่น ท่าพระจันทร์ ที่มีน้ำซึมเข้ามา เพราะไม่มีเขื่อนถาวร แต่ได้สูบออกแล้ว รวมถึงคันกั้นน้ำที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 74/1 ชำรุด เป็นคันกั้นน้ำส่วนบุคคล ซึ่ง กทม.ได้เข้าไปซ่อมแซม คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันนี้ ส่วนปัญหาน้ำจากคลองรังสิตล้นเข้าคลองประปานั้น อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของ กทม. เพราะเป็นภารกิจของการประปา ที่จะต้องแก้ไขปัญหา แต่ กทม.ก็ได้เข้าไปสนับสนุนช่วยการประปาเปิดประตูน้ำ

ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ กทม. ยังกล่าวยืนยันต่อว่า ประตูน้ำของ กทม. ทุกประตูไม่มีปัญหา สามารถเปิดระบายน้ำได้ทุกประตู และสำนักการระบายน้ำ กทม.ได้ระบายน้ำจากคลองประปาลงคลองสามเสน ทำให้ระดับน้ำในคลองสามเสนสูงขึ้น 30 เซนติเมตร แต่ยังต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 1.50 เมตร พร้อมกันนี้ ย้ำให้ประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพราะน้ำจากนวนคร และทุ่งรังสิต จะถึงกรุงเทพฯ วันพรุ่งนี้ แต่ขออย่าตื่นตระหนก เพราะขณะนี้ยังไม่มีสถานการณ์ใดที่จะต้องประกาศแจ้งเตือน หรือเพิ่มพื้นที่เสี่ยงนอกจาก 7 เขต เมื่อวานนี้ โดยการเสริมคันกั้นน้ำที่คลอง 2 และคลองหกวา จะเร่งให้แล้วเสร็จในเที่ยงคืนวันนี้ โดยเพิ่มความสูงเป็น 3 เมตร
 
 

พร้อมกันนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยดูแลจุดอ่อน 3 แห่ง ที่อยู่นอกความรับผิดชอบของ กทม. คือ ประตูน้ำหลักหก พื้นที่การประปาที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกับ กทม. ซึ่งกองทัพ และ กทม.เข้าไปสร้างคันกั้นน้ำเพิ่มเติม รวมทั้งถนนพหลโยธินตัดคลองรังสิต และวันนี้ กทม.จะส่งมอบเรือ 27 ลำ ให้สำนักงานเขตพื้นที่เสี่ยง 5 เขต คือ สายไหม คลองสามวา มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง ซึ่งไม่เพียงพอ จึงขอรับบริจาค หรือยืมเรือจากผู้มีจิตศรัทธา ขณะเดียวกัน บชน.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ 1,000 นาย มาช่วย กทม.ในการเสริมคันกั้นน้ำ
 
 

นอกจากนี้ ผู้ว่าฯ กทม. ยืนยันว่า มีแผนสำรองในการรับมือ หากคันกั้นน้ำคลองหกวา ไม่สามารถป้องกันน้ำทะลักจากคลองรังสิต และปัญหาน้ำล้นริมคลองประปา จากนั้น คณะผู้ว่าฯ กทม.ได้ลงพื้นที่ดูสถานการณ์น้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณโรงพยาบาลศิริราช ที่มีปัญหาน้ำรั่วซึม และลงพื้นที่ดูสถานการณ์น้ำที่มีนบุรี และคลองหกวา เขตสายไหม เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
 
 

หลังจากนั้น ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ พร้อมด้วย นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัด กทม. ได้ลงพื้นที่ท่าน้ำพรานนก ซึ่งอยู่ติดกับโรงพยาบาลศิริราช โดยมีการตรวจตราแนวป้องกันปูนซิเมนต์ ที่ได้มีการสร้างโดยทางโรงพยาบาลศิริราช ร่วมกับนักศึกษา ระดมสร้างแนวป้องกันน้ำตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา จนแล้วเสร็จเป็นระยะทางกว่า 200 เมตร มีความสูงอยู่ที่ระดับ 1.2 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ กทม. หลังจากที่ฟังการบรรยายเสร็จสิ้น ได้มีการเดินสำรวจตลอดแนวถนนพรานนก ซึ่งมีประชาชน พ่อค้าแม่ค้า ทั้ง 2 ข้างทาง ต่างได้มีการเข้ามาสอบถามว่า น้ำจะท่วม กทม.หรือไม่ เบื้องต้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ตอบสั้นๆ ยังไม่ท่วม อีกทั้งประชาชนบางรายยังตะโกนให้กำลังใจเป็นระยะๆ 

 
 
อย่างไรก็ตาม ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้กล่าวภายหลังจากที่การสำรวจสิ้นสุด ที่บริเวณท่าเรือพรานนก ว่า การสร้างแนวป้องกันบริเวณแนวกำแพงด้านนอกของโรงพยาบาลศิริราช ที่ทำขึ้นจากปูนซิเมนต์ เป็นสิ่งที่ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลได้เร่งก่อสร้าง เพื่อทำให้โรงพยาบาลศิริราชปลอดภัยจากน้ำ ประกอบกับเป็นการป้องกันระดับน้ำทะเลหนุน ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนนี้และเดือนหน้า ซึ่งมีระดับสูงกว่าที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากระดับน้ำมีความสูงเกินกว่าแนวปูนซิเมนต์ ก็สามารถเพิ่มเติมความสูงเข้าไปได้อีก และกระบวนการทั้งหมดนี้ เป็นการให้ความมั่นใจว่า จะมีการปกป้องสถานที่แห่งนี้ ที่ถือว่าเป็นหัวใจของประชาชนทั้งหมด ทำให้ดีที่สุด